1. Router มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
Routing มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่
- แบบสเตติก (Static Route)
- แบบไดนามิก (Dynamic Route)
2. จงบอกคำสั่งที่อยู่ในโหมดแต่ละโหมด โหมดละ 5 คำ
User Exec Mode
User Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น Routerhostname >
คาสั่ง
access-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable เข้าสู่ privileged Exec mode
Privileged Exec Mode
เป็นโหมดที่ทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนแปลง ค่า Configuration ในตัว Router เมื่อใดที่ท่านเข้าสู่โหมดนี้ไปแล้ว ท่านจะสามารถเข้าสู่การทำงานของโหมดอื่น เพื่อการเปลี่ยนค่า Configuration รวมทั้งขอบข่ายการทำงานของ Router ได้โดยง่าย
วิธีการเข้าสู่ Privileged Exec Mode ได้แก่การใช้คำสั่ง enable ขณะที่ท่านยังอยู่ใน User Exec Mode แต่ส่วนใหญ่เมื่อท่านกำลังจะเข้าสู่ Privileged Exec Mode ท่านมักจะได้รับการร้องขอให้ใส่รหัสผ่าน หากท่านสามารถใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง ท่านจะได้เห็น Prompt ใหม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า ท่านสามารถเข้าสู่โหมดนี้ได้แล้ว ท่านจะได้เห็นชื่อของ Router รวมทั้งเครื่องหมายของ Prompt ที่เป็นรูป # เช่น myrouter#
Privileged Mode จะทำให้ท่านสามารถ Access เข้าไปที่โหมดต่างๆ ของ Router ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดของระบบปฏิบัติการที่ท่านใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นคำสั่งที่ท่านจะได้พบ หรือสามารถนำมาใช้งานได้บน Privileged Mode นี้
คาสั่ง
Enable ใช้เพื่อเปิดการเข้าสู่ privileged mode
Erase ใช้เพื่อการลบข้อมูลใน Flash หรือหน่วยความจำที่เก็บ Configuration ใน Router
Exit ใช้เพื่อออกจาก EXEC mode
Help คำสั่ง help
Login ใช้เพื่อการ log on เข้าสู่ระบบ
Logout ใช้เพื่อการออกจาก EXEC
Mrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารจาก Multicast Router
Mstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ติดตามดูเส้นทางของ Router ต่างๆ
Mtrace ใช้เพื่อติดตามดู เส้นทางแบบย้อนกลับ จากปลายทางมายังต้นทาง
Name-connection ใช้เพื่อการตั้งชื่อ ให้กับเครือข่ายที่กำลังเชื่อมต่ออยู่
Global Configuration Mode
เป็นโหมดที่เริ่มต้นในการ config พื้นฐานของอุปกรณ์ เช่น การเปลี่ยนชื่อ ( hostname ) เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการ config ก่อนที่จะเป็นขั้นตอนการ config ใน modu ย่อย ๆ ต่อไป
คาสั่ง
Alias ใช้เพื่อสร้าง Command Alias (ใช้เพื่อสร้างคำสั่งใหม่จากคำสั่งเดิมที่มีอยู่)
apollo คำสั่ง Apollo Global configuration Command
appletalk คำสั่ง Global Configuration สำหรับ เครื่อง Appletalk arap Appletalk Remote Access Protocol
arp เป็นการตั้งค่า arp ในตาราง arp
async-bootp ใช้เพื่อ modify Parameter การทำงานของ Bootp
Other Configuration Mode
เป็นโหมดที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในการ config อุปกรณ์จะมีการลงรายละเอียดของอุปกรณ์มากขึ้น เช่น การ config แต่ละ interface ของ Router
3. Command prompt ในโหมดต่างๆ
เข้า dos หรือ command promptใช้คำสั่ง cd เพื่อเปลี่ยนไปยัง ไดเร็กทอรีที่ต้องการแล้วใช้คำสั่งDIR /B /O:N > filelist.txt
คาสั่งภายใน Router Cisco มีค่าสั่งที่ท่างานในโหมดต่างๆ หลายโหมดดังต่อไปนี้ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่
1 User Exec Mode
2 Privileged Exec Mode
3 Global Configuration Mode
4 Other Configuration Mode
5 Boot Mode
4. user exec mode พร้อมรายละเอียด
User Exec Mode : เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น Routerhostname >
คำสั่งต่างๆภายใน User Exec Mode
access-enable : เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear : เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect : ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable : ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect : ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable : เข้าสู่ privileged Exec mode
exit : ออกจากการใช้ User Exec mode
help : ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat : เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock : ใช้เพื่อ lock terminal
login : loginเข้ามาเป็น user
logout : exit ออกจาก EXEC
mrinfo : ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat : แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace : ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection : เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad : เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping : ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp : ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume : ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin : เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show : แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip : เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat : เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet : เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal : เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute : เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel : เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where : แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
5. คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของ Router จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง
คาสั่งเพื่อตรวจสอบสถานะของ Router
คาสั่ง show versions
ข้อมูลข่าวสารจาก show version มีความส่าคัญมาก หากได้มีการ Upgrade Software บน Router ของ หรือในกรณีที่ต้องการจะค้นหาจุดเสียและยังแสดงสถิติถึงระยะเวลาที่ได้เปิด router ตัวนี้ ใช้งาน รวมทั้งชื่อของ image File
คาสั่ง show startup-config
ค่าสั่ง show startup-config เป็นค่าสั่งที่ท่าให้ผู้บริหารเครือข่าย สามารถมองเห็น ขนาดของ image และค่าสั่ง Startup configuration ที่จะถูกน่ามาใช้ในครั้งต่อไปที่มีการ Start ตัว router
คาสั่ง show interfaces
ค่าสั่ง show interfaces เป็นค่าสั่งที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ที่ได้ถูกจัดตั้งไว้แล้ว รวมทั้งสถิติการท่างานของ อินเทอร์เฟส แบบเวลาจริงที่เกิดขึ้นบน router ในขณะนั้น
6. การเลือกเส้นทางแบบ static คืออะไร
การเลือกเส้นทางแบบ Static
การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
Ø เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
Ø เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
Ø ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
Ø ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง
ตัวอย่างการใช้งานคำสั่งเลือกเส้นทางแบบ Static มีดังนี้
Router ( config ) # ip route 172.16.1.0 255.255.255.0 172.16.2.1
7. การเลือกเส้นทางแบบ dynamic คืออะไร
การเลือกเส้นทางแบบ Dynamic นี้ เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่าง Router โดยที่เราเรียกว่า โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ข้อดีของการใช้ Routing Protocol ได้แก่ การที่ Router สามารถใช้ Routing Protocol นี้เพื่อการสร้าง ตาราง เลือกเส้นทางจากสภาวะของเครือข่ายในขณะนั้น ประโยชน์ของการใช้ Routing Protocol มีดังนี้
เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
Router สามารถจัดการ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น ได้เอง
Router สามารถเลือกเส้นทางเดินของเครือข่ายที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง
เมื่อใดที่เส้นทางบนเครือข่าย เกิดสะดุด ติดขัด หรือถูกตัดขาด Router สามารถหาเส้นอื่นมาทดแทนกันได้
รูปแบบการเชื่อมต่อ ของ Router ภายใต้การใช้งาน Routing Protocol นี้ มักจะเป็นไปในรูปแบบของ
กึ่ง Mesh (Partial Mesh)
แบบ Mesh ชนิดเต็มขั้น หรือ Fully Mesh
แบบ Loop
8. Protocol ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic คืออะไร
โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
Interior Gateway Routing Protocol
Exterior Gateway Routing Protocol
Distance Vector Routing Protocol
Link State Routing Protocol
9. อธิบาย Protocol Distance Vector ให้เข้าใจ
Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vector
Distance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)
หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอน
Distance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้น
การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น
10. Protocol BGP คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร
โดยพื้นฐานแล้ว BGP ก็คือ Protocol ตารางบอกข้อมูลระยะทาง ที่มีวิธีการทำงานแตกต่างไปจาก Protocol อื่น ๆ (เช่น Protocol RIP) แทนที่เราจะเก็บเฉพาะข้อมูลค่าธรรมเนียมในการบริการไปยัง Router เป้าหมายต่าง ๆ Router BGP ทุกตัวจะเก็บข้อมูลเส้นทางเดินข้อมูลที่ใช้งานไปแล้ว ข้อมูลพิเศษนี้จะได้รับการถ่ายทอดไปยัง Router ข้างเคียงด้วย
11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิด
สายใยแก้วนำแสง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. ซิงเกิล โหมด ( single mode )
2. มัลติโหมด ( Multimode )
12. สัญญาณของสายใยแก้วนำแสงชนิดต่างๆ
1. ซิงเกิล โหมด ( single mode ) เป็นสายที่มีขนาดของ core เล็กนิยมใช้กับการส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ ปกติใช้แหล่งกำเนิดแสง ( Light source )ที่สร้างด้วยเลเซอร์เพื่อส่งแสงเข้าไปภายในสาย ซึ่งมีลักษณะการส่องไฟฉายเข้าไปภายในท่อกลวง และจากการที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงเพียงชุดเดียว ทำให้แต่ละครั้งสามารถส่งสัญญาณได้เพียงชุดเดียวด้วยสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้
2. มัลติโหมด ( Multimode ) สามารถส่งสัญญาณแสงได้พร้อมๆ กันหลายชุด โดยทั่วๆ ไปแสงที่ใช้งานนั้นกำเนิดด้วยไดโอดเปล่งแสง ( Light Emitting Diode ) หรือ LED แทนที่จะใช้เลเซอร์ ในแต่ละครั้งที่มีการส่องแสงเข้าไปนั้นจะมีมุมที่แตกต่างกันและมีการสะท้อนออก จากผิวของ core
13. จงบอกข้อดีของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี...ของการใช้สายใยแก้วนำแสงแทนสายทองแดง มีหลากหลายประการ เช่น การรบกวน EMI,RFI และ NEXT ไม่มีผลกระทบ และยังมีการลดทอนสัญญาณน้อยมากเมื่อใช้สายแบบ ซิงเกิลโหมด
14. ขนาดของ Core และ Cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด
Core มีความหนาประมาณเส้นผมมนุษย์อยู่ตรงกลางของสาย และล้อมรอบด้วยแท่งแก้วในส่วนที่เรียกว่า Cladding ทั้งนี้ทั้ง core และ cladding จะถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกเพื่อการป้องกัน เมื่ออธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงแล้วปกติมักแสดงด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ core ส่วนด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ cladding โดยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมีหน่วยวัดเป็น " ไมครอน " ( Microns ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ ประมาณ 1/25,000 นิ้ว
15. การเชื่อมต่อโดยวิธีการหลอดรวมทำได้โดยวิธีใด
การเชื่อมต่อด้วยวิธีหลอมรวม (Fusion Splice)
การเชื่อมต่อด้วยวิธีการหลอมรวม เป็นวิธีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสงสองเส้นด้วยการใช้ความร้อนปลายเส้นใยแก้ว จากนั้นปลายเส้นใยแก้วก็จะถูกดันมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อในลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวร เส้นใยแก้วนำแสงที่เชื่อมต่อกันแล้วดูเสมอว่าเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียที่เกิดจากการเชื่อมต่อด้วยวิธีนี้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.2 dB ในขั้นตอนของการเชื่อมต่อนั้น ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้นใยแก้วนำแสงอ่อนตัวนั้น มาจากประกายไฟที่เกิดจากการอาร์กระหว่างขั้วอิเล็กโหมดในการหลอมรวม
สำหรับการเชื่อมต่อแบบหลอมรวมแบบเดิมนั้น การปรับตำแหน่งการวางตัวของเส้นใยแก้วนำแสง 2 เส้น อาศัยวิธีการปรับฐานรองด้วยการสังเกตผ่านกล้องขยาย แต่ในปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางแสงมาช่วยในการจัดวางดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างอัตโมมัติ วิธีการนี้มีชื่อว่า "แอลไอดี (Light Injection and Detection, LID)" โดยอาศัยหลักการตรวจวัดปริมาณแสงที่ได้จากเส้นใยแก้วนำแสงเส้นที่สองซึ่งส่งผ่านมาจากเส้นใยแก้วเส้นที่ 1 ถ้าพบว่าการวางตัวของเส้นใยแก้วทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมปริมาณแสงที่ตรวจวัดได้จะให้ค่ามากที่สุดพร้อมที่จะทำการหลอมรวม แสงที่ใช้ในการตรวจสอบมาจากการส่งผ่านแสงของแอลอีดี เข้าไปในบริเวณที่เส้นใยแก้วถูกทำให้โค้ง โดยท่อทรงกระบอกซึ่งมีรัศมีเล็ก (ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร)และการตรวจวัดแสงก็อาศัยอุปกรณ์รับแสง ซึ่งวางชิดกับบริเวณที่ถูกทำให้โค้งของเส้นใยแก้วนำแสง วิธีการตรวจวัดแสงดังกล่าว อาศัยคุณสมบัติของใยแก้วนำแสงเกี่ยวกับการโค้งงอของเส้นใยแก้วที่ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้น
01 สิงหาคม 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น